ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม
สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1.ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆมีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิต และราคาสินค้า
ต่ำลงไปด้วย
ต่ำลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3.ปริมาณการผลิการผลิตในปริมาณมากจะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆนั้นจะต้องมีตลาดรองรับผลผลิตตลาดภายในประเทศอาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4.ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูปเป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ
ที่มา
ที่มา
การตลาดระหว่างประเทศ
คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ใการตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
แหล่งที่มาของข้อมูล
www1.webng.com/logisticseminar/
ความรู้ทั่วไป
จำนวนประชากร : 58.3 ล้านคน ( 01 มกราคม 2539) เป็นอันดับที่ 17 ของโลกความหนาแน่นของประชากร : 105 คน ต่อตารางกิโลเมตร
พื้นที่ : มีพื้นที่ 551,000 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในยุโรป หรือหนึ่งในสี่ของพื้นที่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หากมองดูจากแผนที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหมือนรูปหกเหลี่ยม ดังนั้นบางครั้งคนฝรั่งเศสจึงเรียกประเทศของตนว่า L'hexagone ซึ่งแปลว่ารูปหกเหลี่ยม
การปกครอง : การปกครองแบบรัฐธรรมนูญปี 1958 แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 1962 มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ (คนปัจจุบัน President Jacques Chirac) เข้าดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง ซึ่งมีขึ้นทุกๆ 7 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก (สส) ที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมทุกๆ 9 ปี และ 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี
เพลงชาติ ลา มาร์แซยแยสา (La Marseillaise) แต่งโดย รูเชต์ เดอ ลิลล์ (Rouget De Lisle) โดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเมืองสตราสบูร์กเมื่อปี 1792 เดิมมีชื่อว่า าเพลงรบกองทัพแห่งไรน์า (Chant de Guerre pour I'Armee du Rhine) ซึ่งมีท่วงทำนองและเนื้อร้องที่เร้าใจ ทำให้เพลงนี้ติดปากชาวฝรั่งเศส และเปลี่ยนมาเป็นเพลงประจำชาติในชื่อของ าลา มาร์แซยแยสา เมื่อปี 1795
ธงชาติ ธงไตรรงค์ หรือ Tricolore เป็นธงต้นฉบับของธงชาติที่หลายประเทศนำมาใช้ ซึ่งประกอบด้วย 3 สี คือ แดง น้ำเงิน ขาว เดิมทีธงลาฟาแยต (La Fayette) ซึ่งในขณะนั้นมี 2 สี คือ แดง และ น้ำเงิน อันเป็นสัญลักษณ์ของกองทหารรักษาพระนครในกรุงปารีสได้ก่อการปฏิวัติ ต่อมาในปี 1789 (พ.ศ. 2332) มีการเพิ่มสีขาวอันเป็นสัญญลักษณ์แห่งความภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในพระราชวงศ์บูร์บองส์เข้าไป และได้นำมาใช้เป็นธงชาติมาตราบเท่าทุกวันนี้
ภูมิอากาศ มี 3 ประเภท คือแบบภาคพื้นสมุทร แบบภูเขา และแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในส่วนของนครปารีส นั้น มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 12 องศาเซลเซียส แต่เอาแน่อะไรกับภูมิอากาศปารีสไม่ค่อยได้ ฝนตกได้ทุกฤดูกาล และบางทีอุณหภูมิหน้าหนาวลดลงกว่า 3 องศาเซลเซียส เรียกได้ว่าถ้าจะไปปารีส ก็ต้องเตรียมตัวรับหลายสถานการณ์ ทางใต้ของฝรั่งเศส มีอากาศอบอุ่นที่สุดเป็นเขตที่มีลมชื่อ มิสทรัล (Mistral) พัดผ่านในราวฤดูใบไม้ผลิ
ตารางอากาศ อุณหภูมิสูงสุดต่ำสุดของแต่ละเดือน(C)
เมือง | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. |
ปารีส | 7/10 | 8/1 | 11/2 | 16/6 | 20/9 | 22/11 | 25/14 | 24/14 | 21/11 | 16/8 | 10/4 | 8/1 |
นีส | 12/5 | 13/6 | 15/8 | 17/10 | 20/12 | 22/17 | 27/19 | 27/19 | 25/18 | 21/12 | 16/9 | 14/16 |
เงินตรา และธนาคาร
ธนาคารบางแห่งในฝรั่งเศสอาจจะไม่รับแลกเงิน ดังนั้นนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะแลกเงิน สามารถแลกได้จากธนาคารที่มีคำว่า Exchange เขียนบอกไว้ หรือจากที่ทำการไปรษณีย์ที่มีเคาน์เตอร์สำหรับแลกเงิน เวลาทำการของธนาคารบางแห่งอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่ เช่นธนาคารที่อยู่ในเมืองทางเมืองทางตอนเหนือของฝรั่งเศสจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.30-16.30 หรือ 17.15 น. บางแห่งอาจจะหยุดพักเที่ยงด้วย ธนาคารที่อยู่ในเมืองทางใต้ส่วนใหญ่จะเปิดวันอังคาร-เสาร์ เวลา 8.00-12.00 น. และ 13.30-16.30 น. และเคาน์เตอร์สำหรับแลกเงินของธนาคารมักจะปิดทำการเร็วกว่าเวลาปิดบริการของธนาคารครึ่งชั่วโมง หากพกเงินเป็นจำนวนมาก ขอแนะนำให้ใช้เช็คเดินทางจะปลอดภัยกว่า ในกรณีของบัตรเครดิตเป็นที่ยอมรับทั่วไปในประเทศ ได้แก่ วีซ่าการ์ด นิยมมากที่สุด ตามด้วยมาสเตอร์การ์ด ไดเนอร์คลับ และบัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส ตามลำดับ
หน่วยเงินของฝรั่งเศส : คือฟรังค์ (FF) 1 ฟรังค์มีค่าเท่ากับ 100 ซองตีม (เซนต์) ซึ่งมีมูลค่าเป็นเงินไทยประมาณ 7 บาท (เดือน มิถุนายน 2541) ธนบัตรฝรั่งเศสมีมูลค่า 500,200,100,50 และ 20 ฟรังค์ เงินเหรียญของฝรั่งเศสมีมูลค่า 50,20,10 และ 5 ซองตีม เหรียญ 50 ซอง จะออกมาในลักษณะ ฟรังค์
การทิป : ตามกฏหมายฝรั่งเศส ร้านอาหารหรือภัตตาคาร สามารถคิดค่าเซอร์วิสชาร์จได้ ประมาณ 10-15% ของราคาอาหาร ดังนั้นการทิปอาจจะไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่คนส่วนมากมักจะทิ้งเศษเหรียญ หรือเงินสัก 2-3 ฟรังค์ ไม่ว่าจะกินกันในจำนวนเงินแค่ไหนก็ตาม หรือถ้าเราพอใจการบริการของเขา ก็อาจจะทิปให้มาก ถ้าไปนั่งกินกาแฟที่ร้าน ควรจะทิ้งเงินทิปไว้สัก 1 ฟรังค์ แต่ถ้าบริการไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องทิปก็ได้ ทั้งนี้ในส่วนของเท็กซี่ และโรงภาพยนต์ ปกติจะทิปประมาณ 2-3 ฟรังค์
เวลา
เวลาของฝรั่งเศสจะช้ากว่าที่เมืองไทย 6 ชั่วโมง
เวลาทำงานและประกอบกิจการ สำนักงานส่วนใหญ่จะเปิดทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์และบางแห่งวันจันทร์ ชั่วโมงทำการคือ 9.00 หรือ 10.00 น.-18.30 หรือ 19.00 น. หยุดพักเที่ยงตั้งแต่ 12.00 หรือ 13.00 น.-14.00 หรือ 15.00 น. ร้านค้าทั่วไปจะเปิดร้านประมาณ 9.00-18.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ และมักพักตอนเที่ยง มีร้านค้าจำนวนมากที่จะปิดในช่วงวันจันทร์ และแทบทุกร้านจะไม่เปิดขายสินค้าในวันอาทิตย์โดยเฉพาะช่วงบ่ายเลย ร้านขนมปัง มักจะเปิดกันตั้งแต่ 7.00 น. และหยุดพักตอนเที่ยง หลังจากนั้นจะเปิดอีกครั้งจนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. หรือเกินกว่านั้น ส่วนร้านที่ไม่หยุดพักในตอนเที่ยง ได้แก่ซูเปอร์มาเก็ต ห้างสรรพสินค้า
ร้านอาหาร
ร้านอาหารในฝรั่งเศสแม้หน้าตาคล้ายๆ กัน แต่อาจเรียกไม่เหมือนกัน ด้วยลักษณะของอาหารที่ขายรวมทั้งเครื่องดื่มด้วย
1. Restaurant คือ ภัตตาคาร มักจะขายอาหารเฉพาะอย่างเช่น อาหารไทย, อาหารเวียดนาม หรืออาหารทะเล รวมทั้งร้านที่ขายเฉพาะอาหารฝรั่งเศสด้วย จะเปิดขายอาหารกลางวันถึงประมาณบ่ายสามโมงแล้วปิด จะขายอาหารเย็นอีกครั้งราวหกโมงครึ่งไปจนถึง 4-5 ทุ่ม การสั่งอาหารจะค่อนข้างใช้เวลานาน
2. Brasserie คือ ร้านอาหารที่เปิดขายตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยไม่มีเวลาหยุดพัก และมีอาหารเสิร์ฟทั้งวัน
2. Brasserie คือ ร้านอาหารที่เปิดขายตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยไม่มีเวลาหยุดพัก และมีอาหารเสิร์ฟทั้งวัน
3. Cafe คือร้านกาแฟ เป็นแหล่งชุมชนของผู้คนในละแวกนั้น จะเสิร์ฟอาหารแบบง่ายๆ อาทิ แซนวิช
หรือ ครัวซอง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ
4. Salon de The เป็นภาคที่หรูหราของคาเฟ่ เสิร์ฟอาหารเบาๆ พวกสลัด หรือ แซนวิช และมีขนมอบ ขนมหวาน เครป และไอศกรีมให้รับประทาน ส่วนใหญ่จะเปิดสายๆถึงหัวค่ำ
5. Boulandgerie หรือร้านขายขนมปัง สดใหม่น่ารับประทาน จะเปิดแต่เช้าและปิดตอนใกล้ค่ำ
6. Patisserie ร้านขายขนมอบนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเพสตรี เอแคลร์ หรือครัวซอง บางร้านมีโต๊ะวางไว้เผื่อลูกค้าจะนั่งในร้าน และมีชา กาแฟเสิร์ฟ ด้วย
7. Confiserie หมายถึงร้านที่ขายของหวานจำพวกช็อคโกเลต ลูกกวาด ผลไม้เชื่อม ในบางร้านอาจมีเค้ก พาย ที่แต่งอย่างหน้ารัก สวยงาม และพอคำ
อาหารการกิน
ในสมัยก่อนคนฝรั่งเศสสามัญชนโดยเฉพาะในชนบท จะถืออาหารกลางวันเป็นอาหารหลัก ส่วนในราชสำนักจะถือมื้อเย็นเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันเวลาอาหารปกติ คือ กลางวัน 12.00-14.00 น. เย็น 20.00-22.00 น.เพราะฉะนั้นตามเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะปารีสร้านอาหารอาจเปิดประมาณ 11.30 น. ถึง บ่าย 2 โมง และเปิดอีกครั้งเวลา หนึ่งทุ่มไปจนถึงเที่ยงคืน บางร้านอาจเปิดไปจนถึงตีสองหรือตีสามเพื่อรับนักท่องเที่ยวราตรีโดยเฉพาะ
เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์
ฝรั่งเศสมีชื่อด้านนี้อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การเป็นแหล่งผลิตของไวน์ และแชมเปญที่สำคัญที่สุดของโลกในปัจจุบัน ไวน์ (Vin) หรือเหล้าองุ่นเริ่มผลิตขึ้นในฝรั้งเศสเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคโรมัน โดยกองทัพโรมันที่เข้าปราบปรามอนารยชนได้นำวิธีการทำเหล้าองุ่นมาเผยแพร่และได้สืบทอดการทำไร่องุ่น และเหล้าไวน์มาจนปัจจุบัน ในหมู่นักดื่มไวน์นั้น ถือว่าไวน์ฝรั่งเศสเป็นไวน์ที่ดีทีสุดในโลก แหล่งผลิตไวน์ที่ขึ้นชื่อไดแก่ บอร์โดซ์ (Bordeux) เบอร์กันดี ชองปาญ อัลซาส ลัวร์ โรน โพรวองซ์ จูราและซาวอย และทางตอนใต้สุดของประเทศ ไวน์แบ่งออกเป็น 3 สี คือ ไวน์ขาว (Blanc) ไวน์แดง (Rouge) และไวน์สีชมพู (Rose) โดยทั่วไปจะนิยมไวน์ขาว และไวน์แดง แต่ไวน์สีชมพูจะไม่เป็นที่นิยมและมักถือว่าเป็นไวน์ที่ดื่มเล่นๆเสียมากกว่า รสชาติของไวน์นั้นจะแบ่งออกเป็น
But = ธรรมดา, Sec = หวานเล็กน้อย, Demi-sec = หวาน, Doux = หวานมาก
คุณภาพของไวน์ที่ผลิตในฝรั่งเศสนั้นรัฐจะควบคุมให้ได้มาตรฐาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้น คือ
1) Appellation d'Origine Controlee (AOC) เป็นไวน์ที่แจ้งรายละเอียดการผลิต ที่ผลิต การบรรจุขวด การบ่มไวน์อย่างละเอียดบนป้ายฉลาดขวด เป็นไวน์คุณภาพสูง และสามารถมีราคาสูงได้เป็นพันเป็นหมื่นบาทขึ้นอยู่กับปีที่ผลิตเป็นสำคัญ
1) Appellation d'Origine Controlee (AOC) เป็นไวน์ที่แจ้งรายละเอียดการผลิต ที่ผลิต การบรรจุขวด การบ่มไวน์อย่างละเอียดบนป้ายฉลาดขวด เป็นไวน์คุณภาพสูง และสามารถมีราคาสูงได้เป็นพันเป็นหมื่นบาทขึ้นอยู่กับปีที่ผลิตเป็นสำคัญ
2) Vins Delimite de Qualite Superieure (VDQS) เป็นไวน์คุณภาพสูง เช่นเดียวกับไวน์ที่มี AOC ต่างกันตรงเป็นไวน์ที่ผลิตจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือสถานที่แห่งหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งสถานที่นั้นๆได้รับการรับรองว่าผลิตไวน์ได้คุณภาพ เช่นไวน์จากบอร์โดซ์ ซึ่งจะบรรจุขวดรูปทรงไม่เหมือนกับไวน์ที่อื่นๆ ไวน์แบบนี้มีราคาสูงเช่นกัน
3) Vin de Pays หรือไวน์ท้องถิ่น ราคาไม่ค่อยแพง คุณภาพปานกลางมักเสิร์ฟตามร้านอาหารทั่วไป
4) Vin De Table หรือไวน์ธรรมดาๆ คุณภาพปานกลาง มักเสิร์ฟตามร้านอาหารแบบชาวบ้านโดยใส่มาเป็นเหยือก (carafe)
องุ่นต่างพันธุ์จะให้รสชาติของไวน์ที่ต่างกันไป ชื่อพันธุ์องุ่นจะถูกบ่งบอกไว้ที่ขวดด้วย พันธุ์องุ่นที่กล่าวกันว่าดี ให้ไวน์รสกลมกล่อม นุ่มละมุนเป็นที่นิยมกันก็ คือpinot noir, pinot gris, pinot blanc, muscat, riesling, cabernet sauvignon, cabernet franc, merlot, petit verdot, malbec, muscadet, sauvignon, chenin blanc, gamay
องุ่นต่างพันธุ์จะให้รสชาติของไวน์ที่ต่างกันไป ชื่อพันธุ์องุ่นจะถูกบ่งบอกไว้ที่ขวดด้วย พันธุ์องุ่นที่กล่าวกันว่าดี ให้ไวน์รสกลมกล่อม นุ่มละมุนเป็นที่นิยมกันก็ คือpinot noir, pinot gris, pinot blanc, muscat, riesling, cabernet sauvignon, cabernet franc, merlot, petit verdot, malbec, muscadet, sauvignon, chenin blanc, gamay
รูปแบบของอาหาร ได้มีการแบ่งรูปแบบอาหารออกเป็นลำดับชั้น คือ
1. Haute Cuisine อาหารที่ปรุงอย่างหรูหราสำหรับคนร่ำรวยใช้เวลาในการเตรียมนาน และเมื่อเสิร์ฟก็ต้องตกแต่งอย่างสวยงาม2. Cuisine Bougeoise อาหารที่ทำกินกันเองในบ้าน แต่ใช้เครื่องปรุงที่มีคุณภาพ
3. Nouvelle Cuisine อาหารแนวใหม่ใช้เครื่องปรุงธรรมชาติแบบดูแลสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลดน้ำหนัก
4. Cuisine des Province อาหารพื้นบ้านชนบทใช้เนื้อสัตว์และผักนานาชนิด โดยไม่แปรรูปให้วิจิตรพิสดาร
อาหารเย็นแบบเต็มยศ จะประกอบด้วยอาหารตั้งแต่ 6 จาน (คอร์ส) ขึ้นไป เสิร์ฟไวน์ตลอดเวลา ไม่นิยมเครื่องดื่มชนิดอื่นระหว่างรับประทานอาหารนอกจากน้ำหากไม่ดื่มไวน์ภัตตาคารที่หรูหราจะเสิร์ฟอาหารแบบเต็มยศ ซึ่งจะสั่งเพียง 2 หรือ 3 คอร์สก็ได้ การสั่งอาหารในภัตตาคารหรูจะเรียงลำดับดังนี้
1. Aperitif (เหล้า หรือ เครื่องดื่มสำหรับจิบเรียกน้ำย่อย)
2. Entree และ/หรือ ออร์เดิร์ฟ (อาหารจานแรก อาจมีซุปต่ออีกคอร์สก็ได้)
3. Plat Pricipal (อาหารจากหลัก)
4. Salade (สลัดเสิร์ฟเคียงกับอาหารจานหลัก)
5. Fromage (เนยแข็งชนิดต่างๆ วางบนถาดไม้)
6. Dessert (ของหวาน)
7. Fruit (ผลไม้)
8. Cafe หรือ The (กาแฟ หรือ ชา)
9. Degestif (เหล้าหลังอาหาร)
หลังจากลงรูปสถานที่ต่างๆในประเทศฝรั่งเศสจากเรื่องเลมอนก็มีเสียงเรียกร้องให้วาวทำเรื่องที่เกี่ยวกะฝรั่งเศสมาลงเยอะๆท่าทางจะมีหลายคนหลงใหลดินแดนแห่งมนต์เสน่ห์นี้เช่นเดียวกะวาวไม่ใช่น้อยเลยนะคะ หุหุ ในเมื่อท่านขอมาเราก็จะสนองตามความต้องการ วาวจัดให้...คริคริแต่คงต้องบอกกันไว้ก่อนว่าวาวไม่ใช่คนที่เชี่ยวชาญเรื่องฝรั่งเศสเป็นเพียงมนุษย์น้อยๆคนนึงที่สนใจหาข้อมูลมาทำนิยาเท่านั้นจึงขอให้ทราบว่าสาระในเรื่องที่หามาคงจะไม่ค่อยมีเท่าไหร่แต่ที่วาวจะเน้นมากที่สุดก็คือภาพจากอีกซีกโลกหนึ่งอีกวัฒธรรมหนึ่งที่อยากให้หลายๆคนได้สัมผัส เหมือนกับยกฝรั่งเศสมาไว้ตรงหน้าคุณนั่นแหละค่ะ เอาล่ะไม่พูดพร่ำแล้วเดี๋ยวจะเบื่อกันซะเปล่าๆ ขอเริ่มเปิดประเดิมด้วย
แท่น...แท้น
อาหารฝรั่งเศสอันแสนโอชะจ้า
ประเทศฝรั่งเศสเนี่ยนะเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญในด้านอาหารการกินมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ในขณะที่ทั่วโลกอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกันกำลังเป็นที่นิยมแต่ที่ฝรั่งเศสแล้วล่ะก็ เหอะๆ ดูท่าจะถูกหมางเมินไปหน่อยล่ะเพราะคนที่นี่เค้าให้ความพิถีพิถันในด้านอาหารเป็นพิเศษดังนั้นจานแรกวันนี้ที่วาวขอนำเสนอจึงเป็นหนึ่งในอาหาร ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดของอาหารระดับโลก นั่นก็คือ...
ฟัวกรา(foie gras)หรือตับห่านเจ้าค่ะ..หน้าตาเจ้าฟัวกราน่ะเป็นแบบนี้
อย่าเพิ่งเสียอกเสียใจไปที่เรามันอยู่สยามเมืองต้มยำกุ้ง คงไม่มีโอกาสได้ลิ้มรสเจ้าตับห่านนี้หรอก ไม่ค่ะไม่ ขึ้นชื่อว่าประเทศไทยครัวโลกซะอย่างรับรองว่าคุณสามารถหาฟัวกรามากระแทกลิ้นได้แน่นอน ตามโรงแรมหรือร้านอาหารฝรั่งเศสบ้านเรานี่ก็มีเจ้าฟัวกราให้ลองลิ้มชิมรสกันค่ะ
ส่วนราคาก็อยู่ที่1000บาทประมาณนี้ไม่มากไม่น้อยอ่าค่ะอ้าวๆอย่าเพิ่งทำตาโต วาวพูดไม่ผิดหรอกน่า ไอ้ชิ้นแค่เนี๊ยแหละ1000บาท ถ้าบางคนบ่นว่าขอถูกว่านี้ไม่ได้เหรออย่างถูกสุดที่เคยได้ยินก็ประมาณ800น่ะค่ะ เหอๆแพงจริงหนอ
แต่อยากบอกว่าก็คุ้มค่า คุ้มราคาดีกับเจ้าฟัวกรา1000บาทเนี่ยใครที่ได้ลองลิ้มชิมรสจะติดใจไม่รู้ลืมเลยล่ะ เพราะโอกาสได้ทานที่ห้องอาหารโรงแรมเพนนินอะไรแบบนี้เนี่ยอร่อยสุดยอดดด เนื้อชุ่ม นุ่มลิ้น หอมฟุ้งกระจายในปากจนคนอื่นแต่นั่งอิจฉาตาปริบๆเอ้าใครแวะไปทานแล้วเหลือที่ว่างชวนไปด้วยนะก็ไม่ว่ากันนะคะ
ส่วนเจ้านี่ก็แปลกดีเหมือนกัน คาวกะหวานมารวมกันได้ พุดดิ้งฟัวกราค่ะ
เอาล่ะ2ภาพสุดท้ายของชุดภาพฟัวกรานี้ เป็นฟัวกราบดแล้วเอาไปทอดแบบนี้ยังไม่เคยได้ยินว่ามีในไทย ท่าทางจะเป็นสูตรเฉพาะของร้านที่ฝรั่งเศส ใครอยากไปชิมก็เชิญได้ที่...ร้านLe luicongแคว้นเบรอตาญค่ะ(รูปนี้จากร้านเขาน่ะ)
หากพูดถึงฟัวกราแล้วจะไม่พูดถึงเจ้าอาหารที่ได้ชื่อว่าเป็นสุดยอดอีกอันก็คงไม่ได้...คาเวียร์(caviar)...
คิดว่าหลายๆคนคงจะเคยได้ยินชื่อและกิติศัพท์ ของเจ้าคาเวียร์มาบ้างแล้ว เอาล่ะหน้าตามันเป็นอย่างงี้(เม็ดดำๆนั่นแล)
ถ้าอยากลองลิ้มชิมรสบ้างเมืองไทยก็มีเหมือนเดิมค่ะ ตามโรงแรมหรือภัตตาคารต่างๆ อันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นร้านอาหารฝรั่งเศสก็ได้พวกร้านอาหารทางแถบตะวันตกมีเหมือนกันค่ะ
ถ้าใครนึกรสชาดไม่ออกก็ไข่กุ้งในอาหารญี่ปุ่นไงคะคล้ายกัน
หมดชุดพวกอาหารลือชื่อไปแล้วเราก็มาดูอะไรอื่นๆที่มันน่ากินกันบ้าง
วาวเลือกมาไม่กี่จานพอนะคะ ถ้าขืนให้ขนอาหารฝรั่งเศสมาหมดคงต้องใช้สัก100Entryถึงจะพอ
และนี่ก็คือgourmandise-saumon ใครว่าคนญี่ปุ่นชอบกินแซลมอนชาติเดียว ไม่จริงค่ะคนฝรั่งเศสก็นิยมเหมือนกัน
สุดท้ายปิดตำหรับอาหารคาวด้วยเนื้อแปลกๆบ้าง
คนฝรั่งเศสช่างกินแล้วก็ช่างสรรหาสัตว์มาเป็นอาหารจริงๆ
ขอนำเสนอ...ขากบทอดค่ะ
สวยนะเนี่ย!!
ตอบลบเนื้อหาเยอะนะเรา
ตอบลบแต่เข้าใจดี
สวยดี เนื้อหาก็ดี
ตอบลบ