หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก

การค้าขายระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส
ในปัจจุบันฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 6 ของไทย ส่วนไทยเป็นคู่ค้าสำคัญของฝรั่งเศสเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์และมาเลเซีย ในช่วงปี 2541-2544  การค้ารวมมีมูลค่าเฉลี่ย 1,823.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราขยายตัวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 2.8 สำหรับในปี 2545 การค้ารวมมีมูลค่า 1,662.52 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุล 21.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2546 การค้ารวมมีมูลค่า 1,948.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 46.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี 2547 (มกราคม-มิถุนายน) การค้ารวมมีมูลค่า 998.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 154.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การส่งออก
ในช่วงปี 2541-2544 การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 863.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราขยายตัวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 1.4 สำหรับในปี 2545 การส่งออกมีมูลค่า 820.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.93 สำหรับปี 2546 (มกราคม-สิงหาคม) การส่งออกมีมูลค่าเฉลี่ย 648.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.6 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปฝรั่งเศส ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณี เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
การนำเข้า
ในช่วงปี 2541-2544 การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 960.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐอัตราขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 สำหรับในปี 2545 การนำเข้ามีมูลค่า 841.87 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.04 สำหรับปี 2546 (มกราคม-สิงหาคม) การนำเข้ามีมูลค่าเฉลี่ย 647.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.01สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากฝรั่งเศส ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็ก เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม


สาธารณรัฐฝรั่งเศส

สาธารณรัฐฝรั่งเศส









ที่ตั้ง ทิศเหนือติดกับช่องแคบอังกฤษ ประเทศเบลเยียม และลักเซมเบิร์ก ทิศตะวันออกติดกับเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทิศใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อันดอร์ราและสเปน โดยมีจุดที่สูงที่สุดในทวีปยุโรปตะวันตก คือ ยอดเขามงบล็อง (Mont Blanc) ตั้งอยู่บนเทือกเขาแอลป์ บริเวณชายแดนประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี

ภูมิอากาศ ปานกลาง (temperate) ฤดูหนาวไม่หนาวมาก และฤดูร้อนเย็นสบาย 

พื้นที่ 551,670 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 1.3 เท่าของไทย) 

ประชากร 64.7 ล้านคน (มกราคม 2553) จำนวนผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 28.1 ล้านคน (ภาคบริการ 74% ภาคอุตสาหกรรม 22% ภาคเกษตรกรรม 3.2%) 

ภาษาราชการ ฝรั่งเศส 

ศาสนา โรมันคาธอลิก (85% ) มุสลิม (10%) โปรเตสแตนท์ (2%) ยิว (1%) 

เมืองหลวง กรุงปารีส

เมืองสำคัญ Marseille, Lyon, Toulouse, Strasbourg, Nice, Rennes, Lille, Bordeaux

สกุลเงิน ยูโร (Euro) 

วันชาติ 14 กรกฎาคม 

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยแบ่งแยกอำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้ ฝ่ายบริหาร มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐ (Head of State) ผ่านการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี และอยู่ในตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 ครั้ง และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วย 2 สภา คือ (1) สภาผู้แทนราษฎร (Assemblee Nationale) เป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี จำนวนสมาชิก 577 คน มีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากในสภา สามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาล (2) วุฒิสภา (Senat) จำนวนสมาชิก 319 คน มีวาระ 6 ปี ฝ่ายตุลาการ ประกอบด้วย (1) ศาลฎีกา (2) ศาลปกครอง (3) ศาลรัฐธรรมนูญ 

การแบ่งเขตการปกครอง ประกอบด้วย 22 มณฑล (Région) ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 96 จังหวัด (Département) จังหวัด-มณฑลโพ้นทะเล (Départements et région d’outre-mer - DOM-ROM) จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ Guadeloupe, Martinique, Guyane or French Guiana, Réunion ชุมชนโพ้นทะเล (Collectivités d’outre-mer - COM) ซึ่งเป็นดินแดนที่มีสถานะแตกต่างกัน 6 แห่ง ได้แก่ Polynésie Française (มีสถานะเป็นประเทศโพ้นทะเล หรือ pays d’outre-mer), Saint-Pierre-et-Miquelon, Wallis-et-Futuna, Mayotte (มีสถานะเป็นชุมชนระดับจังหวัดโพ้นทะเล หรือ collectivité départementale d’outre-mer), Saint-Martin, Saint-Barthélemy นอกจากนี้ มีดินแดนที่มีสถานะพิเศษ ได้แก่ Nouvelle Calédonie (มีสถานะเป็นชุมชน) และดินแดนในแถบขั้วโลกใต้ ได้แก่ Kerguelen, Crozet, Saint-Paul-et-Amsterdam, หมู่เกาะ Eparses และ Terre Adélie ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติก นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังมีกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Clipperton ในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย

การปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วย 
1. เทศบาล (Commune): ปัจจุบันฝรั่งเศสมีเทศบาลประมาณ 36,763 แห่ง การเลือกตั้งสภาเทศบาลจะมีขึ้นทุกๆ 6 ปี และคณะกรรมการเทศบาลจะเลือกสมาชิกของคณะกรรมการ 1 คน ทำหน้าที่นายกเทศมนตรี (Maire) เพื่อเป็นประธานสภาเทศบาล และบริหารงานระดับท้องถิ่น เช่น งบประมาณ งานทะเบียน งานด้านสาธารณูปโภค โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนประถม เป็นต้น
2. จังหวัด (Departement): องค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกว่า Conseil Général มีการเลือกตั้งโดยตรงทุกๆ 6 ปี บทบาทของสภาจังหวัดมีเพิ่มมากขึ้นหลังการออกกฎหมายเพื่อกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นฉบับวันที่ 2 มีนาคม 2525 ซึ่งทำให้สภาจังหวัดมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้น เช่น การกำหนดงบประมาณ การกำหนดภาษีท้องที่ การให้ความช่วยเหลือทางสังคมและครอบครัว การบริหารด้านสาธารณูปโภค และด้านการศึกษาในระดับโรงเรียนมัธยมต้น เป็นต้น
3. ภาคหรือมณฑล (Région): เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นล่าสุดตามนโยบายการกระจายอำนาจ เป็นการรวมหลายจังหวัดเข้าด้วยกัน โดยให้จังหวัดที่ใหญ่ที่สุดเป็นที่ตั้งของภาค และผู้ว่าราชการในจังหวัดนั้นเป็นผู้ว่าราชการภาคด้วย ส่วนองค์การบริหารภาคเรียกว่า Conseil Regional มีการเลือกตั้งโดยตรงทุกๆ 6 ปี และองค์การบริหารภาคนี้จะเลือกประธานเพื่อทำหน้าที่บริหาร โดยจะต้องเป็นผู้เตรียมการและดำเนินการประชุมขององค์การบริหารภาค รับผิดชอบในการกำหนดแผนเศรษฐกิจ การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และในด้านที่อยู่อาศัย ตลอดจนบริหารงบประมาณ และบุคลากรภายในภาค

ประธานาธิบดี นายนิโกลา ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 

นายกรัฐมนตรี นายฟรองซัวส์ ฟิยง (François Fillon) ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระที่ 2 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นางมิเชล อัลลิโอต์-มารี (Michèle Alliot-Marie ) ได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2553

ข้อมูลเศรษฐกิจโดยสังเขป
ผลผลิตประชาชาติ 2,635 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2552)

รายได้เฉลี่ยต่อหัว 32,800 ดอลลาร์สหรัฐ (2552)

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ -2.1 (2552) 

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.1 (2552)

ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เยอรมนี สเปน สหราชอาณาจักร อิตาลี เบลเยียม สหรัฐฯ 

สินค้าเข้า น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ รถยนต์ ชิ้นส่วนและอะไหล่เครื่องบิน ชิ้นส่วนรถยนต์ เวชภัณฑ์ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ 

สินค้าออก รถยนต์และอุปกรณ์ เครื่องบิน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ อาหาร (โดยเฉพาะธัญพืช) เครื่องสำอาง ไวน์/แชมเปญ


การเมืองและการปกครอง

เข้าสู่การปกครองภายใต้สาธารณรัฐที่ 5 เริ่มตั้งแต่ 2501 (1958) จัดตั้งโดยนายพลชาร์ลส์ เดอโกลล์ และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

พรรคการเมืองที่สำคัญๆ ได้แก่
- พรรค Union Pour un Mouvement Populaire (UMP): แนวขวากลาง/สนับสนุนนโยบายตลาดเสรี มีประธานาธิบดีนิโกลา ซาร์โกซี เป็นหัวหน้าพรรค
- พรรค Socialiste (PS)- พรรคสังคมนิยม ปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายค้าน
- พรรค Union pour la Democratie Francaise (UDF)
- พรรค Communiste (PCF)-พรรคคอมมิวนิสต์
- พรรค National Front (แนวขวาจัด)
- พรรค Greens

การเมืองภายใน
การเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2550 นายนิโกลา ซาร์โกซี หัวหน้าพรรค Union pour un Mouvement Populaire ขนะการเลือกตั้งโดยได้รับคะแนนเสียงร้อยละ 30.57 ของผู้มาลงคะแนนทั้งหมดในรอบที่ 2 และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ สืบแทนนายฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2550

นายซาร์โกซีได้แต่งตั้งนายฟรองซัวส์ ฟิยง (François Fillon) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 โดยภายหลังเข้ารับตำแหน่ง นายฟิยงได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายที่ประธานาธิบดีซาร์โกซีใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง สรุปได้ ดังนี้
(1) การดำเนินนโยบายควบคุมการเข้าเมืองอย่างเข้มงวดยิ่งขึ้น
(2) การปฏิรูปโครงสร้างการเกษียญอายุ ระบบการจ่ายบำเหน็จบำนาญ และการบริการจัดการด้านการรักษาพยาบาล
(3) การพิจารณามาตรการสนับสนุนด้านภาษีแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงการปรับอัตราภาษีอากรต่างๆ อาทิ การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
(4) การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้รัฐสภามีความรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นในการกำกับดูแล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการอนุมัติการปฏิบัติการทางทหารในระยะยาวในต่างประเทศ ของกองทัพฝรั่งเศส และเพื่ออนุญาตให้ประธานาธิบดีสามารถเข้าไปชี้แจงในสภาแห่งชาติได้ รวมทั้งจะมีการเสนอให้มีการปรับปรุงระเบียบและกลไกของสภาผู้แทนราษฎรบางส่วนเพื่อเสริมศักยภาพของฝ่ายนิติบัญญัติ
(5) การปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษา โดยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้แก่
ชาวฝรั่งเศส และได้ตั้งงบประมาณเพื่อโครงการนี้ (ระหว่างปี 2550-2555) จำนวน 5 พันล้านยูโร
(6) การทหารและความมั่นคง โดยเฉพาะการรับมือกับขบวนการก่อการร้าย ตลอดจนการพิจารณาจัดสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ลำที่ 2 และการปรับปรุงระบบอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหาร
(7) การจัดที่อยู่อาศัยเพื่อให้ชาวฝรั่งเศสมีโอกาสเท่าเทียมกันในการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
(8) การปรับลดภาวะการขาดดุลงบประมาณ โดยให้มีการจัดทำงบประมาณที่สมดุลภายใน 5 ปี (รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งเป้าหมายลดการขาดดุลงบประมาณให้เหลือร้อยละ 6 ในปี 2554 และเหลือร้อยละ 3 ในปี 2556 ซึ่งอาจต้องใช้เงินกว่า 100 พันล้านยูโร)

สถานการณ์ทางการเมืองล่าสุด
เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2553 นายนิโกลา ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ประกาศปรับคณะรัฐมนตรี อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่พรรค UMP ของประธานาธิบดีฝรั่งเศส ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล ประสบความพ่ายแพ้ต่อพันธมิตรพรรคร่วมฝ่ายค้านในการเลือกตั้งท้องถิ่นของฝรั่งเศสที่มีขึ้นเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2553 โดยสาเหตุของความนิยมในพรรค UMP ที่ลดลงสาเหตุมาจากความไม่พอใจของประชาชนต่อแนวทางการดำเนินนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอของรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาการว่างงานที่กำลังเป็นวิกฤติเฉพาะหน้าของฝรั่งเศส รวมทั้งความไม่พอใจของประชาชนต่อการที่รัฐบาลฝรั่งเศสจะออกมาตรการปฏิรูประบบการจ่ายบำเหน็จบำนาญที่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่นี้ นายฟิยงยังคงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่มีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กระทรวงงบประมาณและกิจการของรัฐ กระทรวงกิจการเยาวชนและการสร้าง
ความสมัครสมาน

นโยบายด้านการต่างประเทศ
รัฐบาลประธานาธิบดีซารัโกซีมีแนวทางสานต่อนโยบายที่เคยดำเนินมาแล้วในรัฐบาลชุดก่อน โดยจะยังคงให้ความสำคัญกับความร่วมมือในกรอบสหภาพยุโรป และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเยอรมนี

ประเด็นด้านการต่างประเทศที่รัฐบาลประธานาธิบดีซารัโกซีให้ความสำคัญ ได้แก่ 1) การกลับเข้าร่วมด้านการทหารกับกองกำลังสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติคเหนือ หรือ นาโต้ 2) พันธกรณีของฝรั่งเศสต่ออัฟกานิสถาน 3) ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะในประเด็นปัญหาโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน 4) การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการมีส่วนร่วมในกองกำลังรักษาสันติภาพ

เรื่องที่กำลังเป็นประเด็น
- ฝรั่งเศสกำลังถุกรัฐสภายุโรปเรียกร้องให้ระงับการผลักดันชาวโรมากลับโรมาเนียและบัลแกเรีย โดยสมาชิกอียู สมาชิกรัฐสภายุโรป และกลุ่ม CSOs/NGOs ประฌามการทำของฝรั่งเศสว่าไร้มนุษยธรรม และละเมิดกฎหมายอียูที่ห้ามขับพลเมืองของสมาชิกอียูใดๆ ออกนอกประเทศเพียงเพราะเหตุผลด้านเศรษฐกิจและ/หรือบนพื้นฐานของเชื้อชาติเผ่าพันธ์ ซึ่งละเมิด European Charter of Fundamental Rights รวมทั้งเป็นการจุดกระแสการเหยียดชนชาติอีกด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวของฝรั่งเศสเป็นไปตามนโยบาย anti-crime initiative ของประธานาธิบดี Sarkozy ที่ประกาศเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2553 และมุ่งเป้าไปที่กลุ่มโรมา เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มชาวโรมาก่อให้เกิดปัญหาตึงเครียดกับชาวพื้นเมืองโดยเฉพาะในฝรั่งเศสกับอิตาลี
- สถานการณ์การนัดหยุดงานของบรรดาสหภาพแรงงานองค์กรต่างๆ ในฝรั่งเศส (ตั้งแต่วันที่ 12 ต.ค. 2553 เป็นต้นมา) เพื่อประท้วงที่รัฐบาลเสนอร่างกฎหมายการเกษียณอายุทำงานจาก 60 ปี เป็น 62 ปี และภายหลังวุฒิสภาได้รับร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว ด้วยกลุ่มผู้ประท้วงเห็นว่าร่างกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ให้ความเป็นธรรมแก่คนทำงานในสาขาอาชีพต่างๆ โดยต้องทำงานยาวนานมากขึ้นกว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์จากเงินสวัสดิการที่สะสมตลอดชีวิตการทำงาน รวมทั้งเป็นการลดทอนโอกาสเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ มากขึ้น

เศรษฐกิจและการค้า

สภาวะเศรษฐกิจ
เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 5 ของโลก เป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (โดยเฉพาะเครื่องจักรและอุปกรณ) อันดับที่ 4 และส่งออกสินค้าเกษตร (ธัญพืชและอุตสาหกรรมอาหาร) เป็นอันดับที่ 2 ของโลก

ในด้านการลงทุน ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ทั้งนี้ เพราะผู้ลงทุนพอใจในคุณภาพของแรงงานชาวฝรั่งเศส ความก้าวหน้าในเรื่องการค้นคว้าและวิจัย และเทคโนโลยีชั้นสูงของฝรั่งเศส

ปัจจุบัน แม้จะเกิดภาวะวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่ปัจจัยที่ส่งผลให้ฝรั่งเศสยังคงได้เปรียบดุลการค้า คือ (1) ราคาพลังงานที่ฝรั่งเศสต้องนำเข้าได้ลดลง เนื่องจากการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (ฝรั่งเศสมีโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์มากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ ร้อยละ 88 มาจากพลังงานนิวเคลียร์) (2) การทำการค้ากับสหภาพยุโรปเป็นสำคัญ โดยร้อยละ 60 ของการส่งออกของฝรั่งเศสส่งไปยังตลาดสหภาพยุโรป (3) การขยายตัวของการส่งออกสินค้ามูลค่าสูง เช่น เครื่องบินแอร์บัส อุปกรณ์การบิน ดาวเทียม อุปกรณ์ด้านการทหาร และรถไฟความเร็วสูง (TGV) โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของการส่งออกของประเทศทั้งหมด
- มาตรการที่ฝรั่งเศสใช้ในการรับมือกับวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ ได้แก่ fiscal retrenchment เพื่อลด public deficit ผสานกับการกระตุ้นเศรษฐกิจและการปฏิรูปไปพร้อมกัน โดยเน้นการปฏิรูป 3 ส่วน ได้แก่ (1) ระบบบำนาญ (2) การหักลดภาษีสำหรับโครงการที่กระตุ้นการจ้างงานและการสนับสนุน self-employment โดยฝรั่งเศสเน้นการดำเนินมาตรการอย่างสมดุลระหว่าง fiscal retrenchment การกระตุ้นเศรษฐกิจ และการปฏิรูป กล่าวคือ คงวินัยทางการเงินการคลัง ในขณะที่ยังคงมีการลงทุนในโครงการระยะยาวและในสาขาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (3) การจ้างงานเพื่อรักษาอัตราความเจริญเติบโตไว้ พร้อมกับการมีระบบเพื่อควบคุมภาคธุรกิจที่เหมาะสม

ในระดับระหว่างประเทศ ฝรั่งเศสจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม G20 G8 และ G7 ในปี 2554 โดยฝรั่งเศสจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การปฏิรูประบบการเงินโลก (2) การทบทวนกลไกตลาด/ราคา สำหรับสินค้าต่างๆ ที่ผันผวน และ (3) global governance โดยเพาะแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานระหว่างองค์การระหว่างประเทศต่างๆ อาทิ WTO World Bank และ IMF

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส
ด้านการทูต
ฝรั่งเศสกับไทยมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โดยมีลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญระหว่างความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส ดังนี้
1. วันที่เชอวาเลียเดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในวันที่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 1685 (พ.ศ. 2228)
2. วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1685 วันลงนามใน ”สัญญาเกี่ยวด้วยการศาสนาระหว่างท่านเชอวาเลียเดอโชมอง ราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง กับท่านคอนซตันตินฟอลคอน หรือพระฤทธิ์กำแหง ภักดีศรีสุนทรเสนา แทนพระเจ้า กรุงสยามอีกฝ่ายหนึ่ง ณ เมืองละโว้”
3. วันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1685 วันลงนามใน “สัญญาซึ่งได้ทำกันในระหว่างเชอวาเลียเดอโชมอง เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับมองซิเออร์คอนซตันตินฟอลคอน ผู้เทนสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชทาน อนุญาตให้บริษัทฝรั่งเศสส่งพ่อค้าฝรั่งเศสมาทำการค้าขายในอินเดียตะวันออก ณ เมืองลพบุรี”
4. วันที่ออกพระวิสูตรสุนทร (โกษาปาน) ราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวัง แวร์ซายส์ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1686

ไทยและฝรั่งเศสสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2399 โดยการลงนามในสนธิสัญญทางไมตรี การพาณิชย์ และการเดินเรือ (Treaty of Friendship, Commerce and Navigation) ต่อมา ในปี 2432 ไทยได้ตั้งสำนักงานและแต่งตั้งอัครราชทูตประจำกรุงปารีส และได้ยกฐานะขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตในปี 2492

ไทยและฝรั่งเศสได้จัดงานเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ครบรอบ 300 ปี เมื่อปี 2528 และฉลองโอกาสครบรอบ 320 ปีของการเริ่มมีความสัมพันธ์ระหว่างกันนับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ และครบรอบ 150 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อปี 2549

เอกอัครราชทูตไทยประจำฝรั่งเศส
นายวีรพันธุ์ วัชราทิตย์ (Viraphand Vacharathit)

เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย
นายจิลดาส์ เลอ ลิเดค (Gildas Le Lidec)

กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองลียง
นาย Frederique de Ganay

กงสุลกิตติมศักดิ์ ณ เมืองมาร์เซยส์
นาย Francis Biget

กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำจังหวัดเชียงใหม่
นาย Thomas Baude

กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำจังหวัดภูเก็ต
นาย Lucien Rodriguez

กงสุลกิตติมศักดิ์ฝรั่งเศสประจำจังหวัดชลบุรี (เมืองพัทยา)
นาย Pierre de Brugerolle de Fraissinette

ด้านการเมือง
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในด้านต่างๆ ดำเนินไปด้วยความราบรื่นไม่มีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับและทุกภาคส่วน มีความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ โดยเฉพาะในปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้รับการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน โดยมีแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2547-2551) โดยความริเริ่มและข้อเสนอของนาย Jacques Chirac ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 (ปี พ.ศ. 2553-2557) เป็นกรอบที่ต่อยอดความร่วมมือในสาขาที่สองประเทศมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม

ด้านเศรษฐกิจ
ฝรั่งเศสเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ 4 ของไทยในอียู ในปี 2552 การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 3,399 ล้าน USD ไทยส่งออก 1,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 1,852 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้า 306 ล้าน USD เนื่องจากนำเข้าสินค้าที่มีมูลค่าสูงจากฝรั่งเศส อาทิ เครื่องบินแอร์บัส อุปกรณ์การบิน

สินค้าศักยภาพที่ไทยส่งออกไปฝรั่งเศส ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ อากาศยาน เครื่องจักรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาและเวชภัณฑ์

ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
1) ปัญหาด้านกฎระเบียบของฝรั่งเศสและของสหภาพยุโรป ซึ่งฝรั่งเศสมักจะเข้มงวดตรวจสอบมากกว่าประเทศสมาชิกอื่นๆ
2) ปัญหาสุขอนามัย โดยเฉพาะในสินค้าประมง อาทิ การตรวจพบ cadmium ในปลาหมึกแช่แข็ง หรือการพบเชื้อ salmonella ในปลาแช่แข็ง เป็นต้น ซึ่งทำให้สินค้านำเข้าจากบริษัทที่มีปัญหาถูกใช้มาตรการเข้มงวด/ตรวจสอบ ทั้งนี้ สินค้าประมงเป็นหนึ่งในกลุ่มสินค้าที่ถูกสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (GSP)
3) ปัญหาคุณภาพสินค้าไทยบางประเภทที่ยังไม่ได้มาตรฐานตลาด
4) ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดเสรี มีการแข่งขันสูงมีการกีดกันและป้องกันตนเอง นอกจากนี้ ตลาดฝรั่งเศสเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีรสนิยมเฉพาะตัว ข้อมูลที่ได้รับจากผู้นำเข้ารายใหญ่รายงานว่า ผู้บริโภคชาวฝรั่งเศสมีรสนิยมที่แตกต่างจากกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอื่นๆ อาทิ กรณีของสับปะรดกระป๋อง ผู้บริโภคนิยมสับปะรดกระป๋องที่มีความเข้มข้นของน้ำเชื่อมสูง และคำนึงถึงสีสันของเนื้อสับปะรดด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคบางกลุ่มยังให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ถูกต้องบนสลากบรรจุภัณฑ์อีกด้วย
5) ความเข้มงวดทางด้านกฎระเบียบเกี่ยวกับความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยความที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะการออกแบบรูปแบบสินค้าต่างๆ จึงทำให้ฝรั่งเศสค่อนข้างมีปัญหาทางการค้ากับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทย โดยเฉพาะความผิดเรื่องการลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ซึ่งพบว่า 7 ใน 10 ของเครื่องหมายการค้าที่พบว่ามีการลอกเลียนแบบนั้น เป็นเครื่องหมายการค้าของฝรั่งเศส นอกจากนั้นยังพบว่า สินค้าลอกเลียนแบบที่ถูกจับกุมและยึดโดยศุลกากรฝรั่งเศส มีแหล่งกำเนิดจากประเทศไทยมากที่สุด

กลไกความร่วมมือด้านการค้า
ในภาครัฐ มีคณะทำงานร่วมด้านการค้าไทย-ฝรั่งเศส และมีการจัดทำข้อตกลงการหารือของเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ภายใต้แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือและส่งเสริมผลประโยชน์ด้านการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศทั้งในกรอบทวิภาคี ภูมิภาค และพหุภาคี รวมทั้งเป็นกลไกการหารือเพื่อมุ่งแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนที่อยู่ในความสนใจของสองฝ่าย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับผิดชอบ

สำหรับภาคเอกชน มีการจัดตั้งสภาธุรกิจฝรั่งเศส-ไทย (French-Thai Business Council - FTBC) ขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2540 โดยหอการค้าไทยเป็นตัวแทน (ประธานร่วมฝ่ายไทย คือ นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์) และ MEDEF (Mouvement Entrepreneurs de France หรือสมาพันธ์นายจ้างฝรั่งเศส) เป็นตัวแทนของฝ่ายฝรั่งเศส (ประธานร่วมฝ่ายฝรั่งเศส คือ นาย Jacques Friedmann)

นอกจากนี้ ไทย-ฝรั่งเศส ยังมีความร่วมมือในกรอบ ASEM อาทิ สภาธุรกิจเอเชีย- ยุโรป (Asia - Europe Business Forum) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนชั้นนำของประเทศสมาชิก ASEM

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
ฝรั่งเศสลงทุนในไทยมากเป็นลำดับที่ 3 ของอียู (รองจากเนเธอร์แลนด์และสหราชอาณาจักร) จากสถิติ BOI ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2007-2009) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 56 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 75 ล้าน ยูโร โดยมีรูปแบบการลงทุนใน 2 ลักษณะ คือ 1) การลงทุนเพื่อทำธุรกิจในไทย อาทิ กลุ่มบริษัท Casino, Thomson และ Totalfina และ 2) การลงทุนเพื่อการส่งออก อาทิ บริษัท Michelin, Lacoste, Saint Gobain และ Devanley

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
ฝรั่งเศสจัดอยู่ในกลุ่มตลาดหลักที่สำคัญของประเทศไทย จำนวนนักท่องเที่ยวฝรั่งเศสเดินทางมาไทยประมาณปีละ 4 แสนคน มากเป็นอันดับ 4 ของกลุ่มอียู และถือเป็น
นักท่องเที่ยวคุณภาพ

ทั้งไทยและฝรั่งเศสต่างมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกันมากขึ้นโดยมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างไทย-ฝรั่งเศส เมื่อปี 2547 โดย MoU ดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยวทางเรือ และการพัฒนามาตรฐานด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน

นักท่องเที่ยวฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับมาตรฐานสินค้าท่องเที่ยวและปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนั้น ปัญหาทัวร์คุณภาพต่ำที่ตัดราคากันเพื่อขายนักท่องเที่ยวฝรั่งเศสยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาพลักษณ์ของไทยในลักษณะของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวราคาถูกและมีคุณภาพต่ำในสายตานักท่องเที่ยวฝรั่งเศส

ภาพพจน์ในทางลบด้านการท่องเที่ยวของไทยในสายตานักท่องเที่ยวฝรั่งเศส อาทิ ปัญหาโสเภณีเด็ก การหลอกลวงนักท่องเที่ยวในการซื้ออัญมณี การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปัญหามลพิษในกรุงเทพฯ ปัญหาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการบริโภคเนื้อสุนัขและส่งออกหนังสุนัข รวมถึงการทารุณกรรมสัตว์/ สัตว์ป่า (ชะนีและช้าง)

ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และวิชาการ
ฝ่ายฝรั่งเศสให้การฝึกอบรมแก่นักศึกษาไทยในด้านเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ โดยในระหว่างการเยือนไทยของประธานาธิบดีชีรัค เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549 ได้มีการลงนามในประกาศเจตนารมณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยและกระทรวงกิจการอุดมศึกษาและการวิจัยของฝรั่งเศส เพื่อกระชับความร่วมมือในสาขาอื่นๆ นอกเหนือจากด้านเทคโนโลยีอวกาศ อาทิ นาโนเทคโนโลยี ความปลอดภัยของอาหารและการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ

ความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม
การลงนามในแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 1 (2547-2551) ส่งเสริมให้สองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้และความเข้าใจในด้านสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศส (La Fête) ขึ้นที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 และสำหรับกิจกรรมทางวัฒนธรรมของไทยในฝรั่งเศสได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 กันยายน-31 ตุลาคม 2549 โดยมีการนำการแสดง อาทิ โขน การแสดงหุ่นละครเล็ก การเต้นรำ/ดนตรีร่วมสมัย การแสดง/แข่งขันมวยไทย ดนตรีไทย การจัดนิทรรศการทวาราวดี การจัดนิทรรศการเสื้อผ้าและสิ่งทอไทย การจัดนิทรรศการช่างสิบหมู่และการสาธิต/นิทรรศการวิถีชีวิตไทยและสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย การจัดนิทรรศการอาหาร การจัดเทศกาลภาพยนตร์ไทยและการจัดนิทรรศการฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ยังได้จัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอื่นๆ มาโดยตลอด เช่น การจัดนิทรรศการศิลปะสมัยทวาราวดีที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติด้านศิลปะเอเชีย: กีเม่ (Musée Guimet) ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการฯ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2552

ความร่วมมือไตรภาคี
ไทยและฝรั่งเศสมีเจตนารมย์ร่วมกันที่จะส่งเสริมความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้ระบุในแผนปฏิบัติการร่วมฯ ไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2

ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีฌาคส์ ชีรัค เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ได้มีการลงนามในความตกลงจัดตั้งคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือไตรภาคีเพื่อการพัฒนา เพื่อเป็นกลไกในการพิจารณาและกำหนดรูปแบบและกิจกรรม/ โครงการความร่วมมือ ตลอดจนบริหารโครงการ และนำมาซึ่งการลงนามในความตกลงจัดตั้งสำนักงาน Agence Francaise de Developpement (AFD) ของฝรั่งเศสในประเทศไทย

โครงการความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ 1) โครงการสร้างทางรถไฟในลาวเส้นทางสายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์ โดยฝรั่งเศสสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเป็นไปได้ (ขั้นที่ 2) ของโครงการฯ และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสนับสนุนการก่อสร้างโดยเสนอเงินกู้แก่ลาวผ่านไทย 2) โครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ (โดย สพร.) กับสมาคมความร่วมมือการแพทย์ฝรั่งเศส-เอเชีย (AMFA) ในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมทางด้านการผ่าตัดให้แก่แพทย์ชาวพม่า ณ มหาวิทยาลัยมหิดล

ความตกลงทวิภาคี
ความตกลงที่ลงนามแล้ว
1) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวัฒนธรรม การศึกษาและวิทยาศาสตร์ และความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 16 กันยายน
ค.ศ.1977
2) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยบริการเดินอากาศ ลงนามเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1975 และมีการทบทวนเป็นระยะ
3) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 1974
4) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ลงนามเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ. 1977
5) อนุสัญญาความร่วมมือในการปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีอาญา (โอนตัวนักโทษ) ลงนามเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 1983
6) ความตกลงสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องระหว่างจังหวัดภูเก็ตกับเมืองนีซ ลงนามเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1989
7) อนุสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องการอาญาไทย-ฝรั่งเศสลงนามเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1997
8) คณะทำงานร่วมทางการค้าไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995
9) บันทึกความเข้าใจในการก่อตั้ง French-Thai Business Council ลงนามเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997
10) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ด้านไปรษณีย์และโทรคมนาคม ลงนามเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998 เป็นความตกลงฉบับใหม่ ซึ่งฝรั่งเศสขอทำขึ้นใหม่แทนฉบับเดิม เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหน่วยงานที่ดูแล และได้กำหนดให้มีคณะกรรมการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ว่าด้วยความตกลงความร่วมมือด้านการไปรษณีย์และโทรคมนาคม
11) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในทางสันติลงนามเมื่อ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1998
12) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือว่าด้วยอุดมศึกษาและวิจัยไทย-ฝรั่งเศสลงนามเมื่อ 23 เมษายน ค.ศ. 1999
13) ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส เกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ (The Agreement between the Government of the French Republic and the Government of the Kingdom of Thailand Relating to Cooperation in the Field of Space Technologies and Applications) ลงนามเมื่อ 27 มกราคม ค.ศ. 2000
14) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งกำลังบำรุงทางทหารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Agreement on Military Logistics Cooperation Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the French Repubic) ลงนามเมื่อ 26 เมษายน ค.ศ. 2000
15) บันทึกความเข้าใจระหว่าง BOI กับหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของฝรั่งเศส (UBIFRANCE) ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
16) ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไทย -ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
17) ความตกลงจัดตั้งสำนักงานเพื่อการพัฒนา (Agence Fran?aise de D?veloppement- AFD) ในประเทศไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
18) หนังสือแลกเปลี่ยน (Terms of Reference: ToR) เพื่อจัดตั้งคณะทำงานร่วมภายใต้ความร่วมมือไตรภาคีไทย-ฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
19) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
20) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ด้านความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างกระทรวงกลาโหมของไทยกับฝรั่งเศส ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
21) ประกาศเจตนารมณ์ (Declaration of Intent) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
22) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านส่งเสริมการค้าปลีกระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กับบริษัท Carrefour Group ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
23) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแฟชั่นระหว่างสมาพันธ์ Pr?t-?-Porter F?minin (เสื้อผ้าสำเร็จรูปของผู้หญิง) และสหภาพเครื่องนุ่งห่มฝรั่งเศส กับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม/สมาคมเครื่องนุ่งห่มไทย/สมาคมเครื่องหนังไทย ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
24) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างหอการค้าเชียงใหม่และหอการค้าเมืองลียง ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
25) Agreement on Khanom Marine Biodiversity Initiative ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
26) สัญญาทางธุรกิจระหว่างบริษัท Fives-Lille (DMS) กับ บริษัท Thainox ลงนามเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2549
27) บันทักวาจาว่าด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส ฉบับที่ 2 (ปี 2553-2557) ลงนามเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553
28) ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับการพำนักระยะสั้นแก่ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต ลงนามเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2553

การแลกเปลี่ยนการเยือน
ฝ่ายไทย
พระราชวงศ์
- ค.ศ. 1960 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ
- พฤศจิกายน ค.ศ. 1991 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 31 สิงหาคม - 9 กันยายน ค.ศ.1994 สมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนาฯเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการตามคำกราบทูลเชิญของรัฐบาลฝรั่งเศส
- 31 พฤษภาคม - 6 มิถุนายน ค.ศ. 1995 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯเยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 29 มิถุนายน - 4 กรกฎาคม ค.ศ.1995 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 8-26 มิถุนายน ค.ศ. 1997 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของ Mme. Bernadette Chirac ภริยาประธานาธิบดี
- 27-31 พฤษภาคม ค.ศ.1998 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 14-16 ธันวาคม ค.ศ. 1998 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 12-22 พฤษภาคม ค.ศ. 1999 พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 31 ธันวาคม 2542 - 5 มกราคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส เป็นการส่วนพระองค์
- 1-5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัย
ลักษณอัครราชกุมารีเสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อร่วมการลงนาม Charter of Paris ในการประชุม World Summit Against Cancer
- 27 กุมภาพันธ์ - 3 มีนาคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส เพื่อทรงร่วมพิธีเปิดนิทรรศการเกษตรกรรมนานาชาติ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของทางการฝรั่งเศส
- 7-9 มีนาคม และ 31 มีนาคม - 2 เมษายน ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ อัครราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศส (ก่อนและหลังเสด็จฯ เยือนอเมริกาใต้)
- 21-28 พฤษภาคม ค.ศ. 2000 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อทรงร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี
- 16-27 เมษายน ค.ศ. 2001 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปทรงรับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ด้านภาษาศาสตร์ จากสถาบันแห่งชาติทางภาษาและอารยธรรมตะวันออก (Institut Nationale des Langues et Civilisations Orientales – INALCO)
- 4-5 เมษายน ค.ศ. 2002 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 17-23 ตุลาคม ค.ศ. 2002 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถฯ เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- 1-6 กันยายน ค.ศ. 2003 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเป็นการส่วนพระองค์
- กันยายน ค.ศ. 2006 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนฝรั่งเศสเพื่อร่วมงานเปิดเทศกาลวัฒนธรรมไทยในฝรั่งเศส
- มีนาคม ค.ศ. 2008 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือน FRench Polynesia เป็นการส่วนพระองค์

ภาครัฐบาล
(ช่วงปี 2545-2552)
ฝ่ายไทย
นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 12-13 พฤษภาคม 2546 และวันที่ 9-11 ตุลาคม 2548 พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเยือนฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
- วันที่ 23-25 พฤษภาคม 2547 นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส อย่างเป็นทางการ
- วันที่ 12-19 กันยายน 2549 นายกันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนฝรั่งเศส เพื่อร่วมพิธีเปิดงานเทศกาลวัฒนธรรมไทย ณ กรุงปารีส
- วันที่ 6-8 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเยือนฝรั่งเศส

ฝ่ายฝรั่งเศส
ประธานาธิบดี/นายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
- วันที่ 29 ธันวาคม 2547 นายมิเชล บาร์นิเยร์ (Michel Barnier) รัฐมนตรีว่าการ ระทรวงการต่างประเทศ เยือนภูเก็ต เพื่อสำรวจพื้นที่ที่ประสบเหตุธรณีพิบัติภัย
- วันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2549 นายฌาคส์ ชีรัค (Jacques Chirac) ประธานาธิบดีเยือนไทย อย่างเป็นทางการ
- วันที่ 30 ตุลาคม 2550 นายแบร์นาร์ กุชแนร์ (Bernard Kouchner) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย
- วันที่ 12-14 มีนาคม 2552 นางรามา ย้าด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนไทย

จำนวนคนไทยในฝรั่งเศส ประมาณ 16,000 คน (สำรวจเมื่อ ธ.ค 2551)
วัดไทย 4 แห่ง ได้แก่ (1) วัดธรรมปทีป เมือง Moissy-Cramayel (2) วัดพุทธศรัทธาธรรม เมือง Roubaix (3) วัดพุทธสตราสบูร์ก (4) วัดธรรมกาย เมือง Torcy และเมือง Bordeaux

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศฝรั่งเศส
อาหารการกิน
ในสมัยก่อนคนฝรั่งเศสสามัญชนโดยเฉพาะในชนบท จะถืออาหารกลางวันเป็นอาหารหลัก ส่วนในราชสำนักจะถือมื้อเย็นเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันเวลาอาหารปกติ คือ กลางวัน 12.00-14.00 น. เย็น 20.00-22.00 น.เพราะฉะนั้นตามเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะปารีสร้านอาหารอาจเปิดประมาณ 11.30 น. ถึง บ่าย 2 โมง และเปิดอีกครั้งเวลา หนึ่งทุ่มไปจนถึงเที่ยงคืน บางร้านอาจเปิดไปจนถึงตีสองหรือตีสามเพื่อรับนักท่องเที่ยวราตรีโดยเฉพาะ
อาหารฝรั่งเศสอันแสนโอชะจ้า
ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าให้ความสำคัญในด้านอาหารการกินมากที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้ในขณะที่ทั่วโลกอาหารฟาสต์ฟู้ดแบบอเมริกันกำลังเป็นที่นิยมแต่ที่ฝรั่งเศสแล้วล่ะก็ ดูท่าจะถูกหมางเมินไปหน่อยล่ะเพราะคนที่นี่เค้าให้ความพิถีพิถันในด้านอาหารเป็นพิเศษ ดังนั้นจะนำเสนอเป็นหนึ่งในอาหาร ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดของอาหารระดับโลก นั่นก็คือ...